หาอะไรก็เจอ

วันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ ๖ ข้อดี ข้อเสียของการสร้างบล็อก

 

                 การที่อาจารย์ให้นักศึกษาส่งงานผ่านทางบล็อก ผมคิดว่ามีความเหมาะสมมาก 
สามารถนำมาใช้ในการจัดทำสื่อการเรียนการสอนให้กับนักเรียนได้จริง  นักเรียนสามารถเข้ามาใช้งานบล็อกที่ครูจัดทำขึ้นได้  และครูสามารถนำสื่อที่ได้ขึ้นไว้บนบล็อกมาสอนนักเรียนได้สะดวกมากยิ่งขึ้น
ผลดีของการใช้งาน
1.  ใช้งานได้สะดวก  มีความหลากหลาย  นำเสนอได้ทั้งรูปภาพและตัวหนังสือ 
2.  สร้างง่าย ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ 
3.  สามารถแสดงความคิดเห็น ความรู้สึกของผู้อ่านเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ที่โพสต์ได้
4.  ช่วยในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ เสนอข่าวสารความเคลื่อนไหวของโรงเรียนได้
5.  มีความทันสมัย  ทันกับเหตุการณ์ปัจจุบันเสมอ
6.  เปิดโอกาสให้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้โดยอิสระ 
7.  ผู้ที่สร้างบล็อกสามารถ ปรับแต่งบล็อกให้เป็นรูปแบบที่ตนต้องการได้
8.  สามารถสร้างเครือข่ายร่วมกันได้
9.  เก็บและเผยแพร่ข่าวสารได้มาก  และหลากหลายรูปแบบ
 ข้อเสียของการทำบล็อก 
1. เนื้อหาที่อยู่ในบล็อก ไม่สามารถควบคุมคุณภาพได้  ยังไม่การพิมพ์ผิด  เนื่องจากไม่ได้รับการตรวจสอบก่อนเผยแพร่
2. เพื่อนที่อยู่นอกเครือข่ายหรือไม่มีที่อยู่มีของบล็อกโอกาสที่จะได้รู้จักหรือแสดงความคิดเห็นทำได้ค่อนข้างยากางบ
3. อิสระในการนำเสนอ  ไม่มีผู้ตรวจสอบบางครั้งอาจโพสต์เรื่องที่ไม่เหมาะสม
4. ข้อความสามารถคัดลอก  วางได้สะดวกโดยไม่ต้องพิมพ์
     จากการที่ข้าพเจ้าได้จัดทำบล็อก  ข้าพเจ้าได้รับความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์  การตกแต่งบล็อกของตนเอง  การคิดสร้างสิ่งใหม่  มีความกระตือรือร้นในการทำงานเนื่องจากต้องศึกษาและติดตามการสั่งงานของอาจารย์ตลอดเวลา  ส่งผลให้นักศึกษามีความรับผิดชอบมากยิ่งขึ้น  ให้ความสนใจกับวิชาที่เรียนมากยิ่งขึ้น

กิจกรรมที่ ๕ การศึกษาดูงานประเทศมาเลเซีย-สิงคโปร์


                ในระหว่างวันที่ 24-28 มกราคม 2554 ผมมีโอกาสไปทัศนศึกษาประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งในหลักสูตร ป.บัณฑิตสาขาบริหารการศึกษา มรภ.นครศรีธรรมราช  มีรายละเอียด ดังนี้
                วันที่ 24  มกราคม 2554 ออกจาก ม.ราชภัฏนครศรีธรรมราช เวลา 04.00 น.ด้วยรถบัสปรับอากาศของบริษัท ศิรินครทัวร์ และแวะรับเพื่อนนักศึกษาตามจุดต่างๆจนครบทุกคน
                ถึงด่านชายแดนไทย-มาเลเซีย เวลาประมาณ 11.00 น. จัดการเกี่ยวกับเอกสารการเดินทางออกนอกประเทศเสร็จเรียบร้อย เข้าสู่ประเทศมาเลเซียโดยผ่านขั้นตอนการตรวจหนังสือเดินทางและสัมภาระ หลังจากผ่านขั้นตอนต่างๆ เสร็จเรียบร้อยแล้วนั่งรถเดินทางสู่ประเทศมาเลเซีย ชมบรรยากาศ ภูมิประเทศ รู้สึกว่าแตกต่างจากเมืองไทยเป็นอย่างมาก  ถนนหนทางกว้างขวาง มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย การขับรถส่วนใหญ่ผู้คนมีการเคารพกฎจราจรอย่างเคร่งครัด นั่งรถไปเรื่อย ๆ ชึมซับกับธรรมชาติและบรรยากาศสองข้างทาง เพลิดเพลินกับการฟังเพลงเพราะๆ บนรถสลับกับการสนทนาพูดคุย และถึงจุดแรกคือโรงเรียน Kodiang เป็นโรงเรียนประถมศึกษา ตั้งอยู่ในรัฐเคดาห์ มีนักเรียน 500 กว่าคน ครู 80 กว่าคน จัดการเรียนการสอนตั้งแต่อนุบาลถึง ประถมศึกษา เปิดสอนตั้งแต่ 07.00-12.00 น.ที่ประเทศมาเลเซียนักเรียนจะเรียนถึงเที่ยง ส่วนครูนั้นทำการจนถึงประมาณบ่ายสามโมง บรรยากาศในห้องเรียนก็เรียบร้อยดีมาก วันที่ไปถึงนักเรียนเหลืออยู่บางส่วน ซึ่งส่วนใหญ่ดูแล้วเรียบร้อยดี ไม่วุ่นวายเหมือนกับนักเรียนบ้านเรา การจัดห้องสำนักงาน และสิ่งแวดล้อมก็เรียบร้อย เรียบง่าย เน้นความเป็นระเบียบ อาคารเรียนอนุบาลก็แยกต่างหาก ห้องน้ำห้องส้วมสะอาด สรุปภาพรวมแล้วการดูงานที่โรงเรียนแห่งนี้ได้เห็นลักษณะการบริหารจัดการ และบรรยากาศโดยรวมแล้วบางอย่างก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในบ้านเราได้หลายอย่าง หลังจากเยี่ยมชมเสร็จแล้วก็ได้มีพิธีการกล่าวต้อนรับของผู้บริหารโรงเรียน Kodiang และกล่าวขอบคุณ พร้อมมอบของที่ระลึกจากคณะนักศึกษา หลังจากนั้นทางโรงเรียนได้จัดอาหารกลางวันคือข้าวมันไก่ไว้เลี้ยงต้อนรับ เสร็จจากนั้นก็อำลากลับขึ้นรถเพื่อเข้าสู่เกาะปีนังต่อไป

หลังจากนั้นก็เดินทางเข้าสู่เกาะปีนัง ระหว่างที่นั่งผ่านสองข้างทางระหว่างรัฐเคดาห์ อลอสตาร์ ฮิโปห์ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม คือการทำนาที่กว้างใหญ่มาก พื้นที่สีเขียวเต็มทั้งสองข้างทาง และที่น่าประทับใจอีกอย่างคือสองข้างทางถนนที่รถแล่นอยู่นั้นจะมีรั้วรอบ คล้ายกับตะแกรงเหล็ก ทราบจากไกด์ว่าถนนนี้เป็นถนนมอร์เตอร์เวย์ที่รัฐให้บริการประชาชนซึ่งได้กำหนดไว้ว่าจะต้องรั้วเพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงที่อาจจะออกมาวิ่งเพ่นพ่านตามท้องถนนอาจเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ และอีกอย่างหนึ่งคือประทับใจห้องน้ำ ห้องน้ำที่นี่สะอาดมากเพราะมีเจ้าหน้าที่ทำความสะอาดตลอด 24 ชั่วโมง การเติมน้ำมันที่ปั๊มน้ำมัน ถ้าที่บ้านเราจะมีพนักงานปั๊มมาบริการเติมให้ แต่ที่มาเลเซียเจ้าของรถต้องลงมาเติมเองวิธีการคือ ดับเครื่องรถ ไปซื้อบัตรเป็นการ์ดจากเจ้าหน้าที่แล้วมารูดเองว่าจะเติมกี่ลิตร แต่ที่มาเลย์เขากำหนดให้รถแต่ละคันเติมได้ไม่เกิน 20 ลิตรต่อคัน และต้องเข้าคิวตามลำดับก่อนหลัง
นั่งรถไปเรื่อยๆ จนเข้าสู่เกาะปีนั่งในตอนค่ำ เกาะปีนังนี้เมื่อก่อนเป็นของไทยแต่เราต้องเสียดินแดนส่วนนี้ให้กับอังกฤษในสมัย ร.1 เกาะปีนังเป็นรัฐหนึ่งของมาเลย์ เป็นที่ทันสมัยมากมีตึกหรูๆ มากมายหลายตึก มีผู้คนอาศัยอยู่หลายเชื้อชาติ เช่น คนจีน คนอิสลาม ฮินดู และอื่นๆ สภาพโดยทั่วไปคล้ายกับเกาะฮ่องกง มีแหล่งสำคัญ เช่นย่านธุรกิจ ย่านอุตสาหกรรมขนส่งทางเรือ ย่านที่พักอาศัย แต่ที่น่าประทับใจอย่างหนึ่งในมาเลย์คือทุกเมืองเขาจะอนุรักษ์ต้นไม้ การตกแต่งดูแลสิ่งแวดล้อมมีความร่มรื่น และในตัวเมืองคนเขามีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ดูไม่วุ่นวายเหมือนบ้านเรา จากนั้นก็รับประทานอาหารเย็น อาหารการกินที่มาเลย์ก็รู้สึกว่าเป็นอาหารรสชาติจืดๆ ไม่คุ้นลิ้นกับคนไทยที่พวกเราชอบ แต่ด้วยความหิวอาหารเย็นมื้อแรกก็เกลี้ยงหมดทุกเมนู หลังจากนั้นก็กลับเข้าพักผ่อนที่โรงแรม


                วันที่  25 มกราคม 2554 ตื่นเช้าเวลา 05.00 น บ้านเรา แต่มาเลย์เวลา 06.00 น. อาบน้ำแต่งตัวเสร็จรับประทานอาหารเช้าที่โรงแรม เดินทางออกจากโรงแรมไปยังป้อมปืนสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง และถ่ายรูปเป็นที่ระลึกเดินทางเข้าสู่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ใช้ระยะทางประมาณ 800 กว่า ก.ม.ก็เพลิดเพลินไปกับบรรยากาศสองข้างทางถึงกรุงกัวลาลัมเปอร์แวะชมพระราชวังของประเทศมาเลเซีย อนุสรณ์ทหารอาสา ถ่ายรูปที่ระลึกตึกแฝดที่เลื่องชื่อ หลังจากนั้นเดินทางสู่เกนติ้งเมืองมหานครแห่งความบันเทิงบนภูเขาสูงด้วยกระเช้าไฟฟ้า(SKY WAY)ที่ทันสมัยและรวดเร็ว ปลอดภัย ท่ามกลางความตื่นเต้น ทึ่งกับทัศนียภาพของขุนเขา และเข้าพักที่โรงแรม พร้อมเดินชมศูนย์รวมความบันเทิง และบ่อนคาสิโนหลากหลายชนิด

                วันที่  26 มกราคม 2554 เดินทางออกจากเกนติ้งถึงเมืองใหม่ปุตราจายา ซึ่งเป็นเมืองใหม่ศูนย์รวม็ตรวจคนเข้าเมืองโยโฮบารูเพื่อเข้าสู่ประเทศสิงคโปร์ เสร็จพิธีการตรวจคนเข้าเมืองแล้ว รับประทานอาหารเย็น เช็คอินเข้าสู่พักที่โรงแรม A Queen Hotel เป็นห้องขนาด 12 ตารางเมตร แต่จัดวางสิ่งของเครื่องใช้ไว้น่าชม
                วันที่  27 มกราคม 2554 หลังรับประทานอาหารเช้าเสร็จแล้วเดินทางไปยังอ่าวสิงคโปร์ ถ่ายรูปกับรูปปั้นสิงโตทะเล (Merlion) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของประเทศ และเที่ยวชมและเลือกซื้อสินค้าบริเวณถนนออร์ชาร์ด หลังจากนั้นเดินทางต่อไปยังเกาะเซ็นโตซ่า ศูนย์รวมความบันเทิงที่ยิ่งใหญ่ระดับโลกของสิงคโปร์ ชมภาพยนตร์4 มิติ ที่ทันสมัย เหมือนนั่งอยู่ในเหตุการณ์จริงและเข้าชม Song of the sea ที่สวยงาม และตระการตาทั้งภาพและเสียง และรับประทานอาหารเย็นที่เกาะเซ็นโตซ่า เสร็จแล้วล่องเรือชมความงามยามค่ำคืนของสิงคโปร์ จากนั้นเดินทางออกจากสิงคโปร์เข้าสู่เมืองยะโฮบารู ประเทศมาเลเซียโดยเข้าพักที่โรงแรมนิวยอร์ค ยะโฮบารู

                วันที่ 28  มกราคม  2554  วันสุดท้ายของการทัศนศึกษา รับประทานอาหารเช้าที่โรงแรมเสร็จแล้วเดินทางกลับ ผ่านกรุงกัวลาลัมเปอร์ ถึงดิวตี้ฟรี ร้านค้าปลอดภาษี หลังจากนั้นเข้าสู่ขั้นตอนการตรวจคนเข้าเมืองเข้าสู่ประเทศไทยเรียบร้อยถึงบ้านโดยสวัสดิภาพเวลาประมาณ ๐๑.๓๐  น.
                 

กิจกรรมที่ ๕ การศึกษา-ดูงานประเทศมาเลเซีย-สิงคโปร์

วันเสาร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 4 ข้อมูลสารสนเทศโรงเรียนท่าศาลาประสิทธิ์ศึกษา

1.จุดเด่น จุดด้อย โอกาสการพัฒนาของโรงเรียนท่าศาลาประสิทธิ์ศึกษา
1.1 จุดเด่น โรงเรียนท่าศาลาประสิทธิ์ศึกษาเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ อยู่ในอันดับยอดนิยมของท้องถิ่น ผ่านเกณฑ์ประเมินเป็นโรงเรียนในฝัน ผ่านการประเมินคุณภาพภายนอกทั้งรอบที่ 1 และ 2 ขณะนี้เข้าโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล ได้รับงบประมาณปีละประมาณ 10 ล้านกว่าบาท ได้รับการสนับสนุนจากอบจ.นครศรีธรรมราชอนุมัติงบประมาณจ้างครูภาษาต่างประเทศ 5 คน และสร้างห้องพิเศษพร้อมอุปกรณ์อีก 1 ห้อง ครูจำนวน 140 คน นักเรียน 2,700 คน

1.2 จุดด้อย ฝ่ายบริหารให้ความสำคัญกับการสร้างพลังขับดันให้ครูเกิดจิตสำนึกในหน้าที่ ไว้วางใจ ส่งผลให้ขาดการติดตามตรวจสอบ ปรากฏการณ์นักเรียนว่าง ครูอยู่แต่ไม่สอนหรือเข้าห้องช้าออกเร็วจึงเกิดขึ้นบ่อยครัง

1.3 โอกาสการพัฒนา ด้วยความพร้อมด้านบุคคลากร ทรัพยากรทางการศึกษาและการสนับสนุนจากท้องถิ่นที่ดี โรงเรียนท่าศาลาประสิทธิ์ศึกษาจึงมีโอกาสที่ดีมาก เพียงแต่ฝ่ายบริหารต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการบริหาร สร้างระบบการนิเทศ การติดตามตรวจสอบ สิ่งที่ควรรีบดำเนินการคือกำหนดให้บุคลากรทุกคนวางแผนการพัฒนางานของตนเอง(ID Plan)เสนอต่อผู้บริหารและกำหนดให้รายงานผลเป็นลายลักษณ์อักษรหรือลงในระบบเครือข่ายของโรงเรียนทุกสิ้นภาคหรือปี

2.ข้อมูลสถานศึกษา ข้อมูลนักเรียน ข้อมูลบุคลากร ข้อมูลงานทะเบียน ข้อมูลวิชาการและอื่นๆของโรงเรียน ที่มีอยู่แล้วจำกัดอยู่เฉพาะในกลุ่มงาน/ฝ่าย ซึ่งอยู่ในรูปเอกสาร เมื่อต้องการใช้ประโยชน์ต้องไปขอ ทั้งๆที่ข้อมูลทั้งหมดของแต่ละกลุ่มงาน/ฝ่ายอยู่ในระบบงานคอมพิวเตอร์อยู่แล้ว เพียงโอนข้อมูลทั้งหมดขึ้นเว็บไซต์ของโรงเรียนให้บุคลากรดึงข้อมูลมาใช้ในงานของตนเอง โดยเฉพาะรายชื่อนักเรียนมีประโยชน์ต่อการบันทึกข้อมูลในงานด้านการสอน งานปกครองจะง่ายต่อการลงและค้นหาการกระทำความผิดต่างๆ ถ้าใช้ระบบดังกล่าวจะประหยัดกระดาษอย่างมาก

3.แบ่งเป็นนวัตกรรมในสายงานบริหารคือการโอนข้อมูลที่จำเป็น เช่น รายชื่อนักเรียน รายชื่อบุคลากร แบบฟอร์มงานต่างๆ ปฏิทินงานวิชาการ งานกิจกรรม บันทึกความผิดของนักเรียน การแสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะต่างๆ ขึ้นสู่ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของโรงเรียน กับนวัตกรรมที่จะใช้กับบุคลากร ควรให้ทุกคนมีอีเมลหรือบล็อกส่วนตัวเพื่อการติดต่อสื่อสารกับเพื่อนๆหรือสั่งงานนักเรียน

วันอังคารที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 3 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS

โปรแกรม SPSS
1.กำหนดค่าใน variable view
         - name   พิมพ์  ชื่อ เพศ,a1,a2,......,d3
         - width   ระบุตัวเลขความกว้างที่ต้องการ
         - deimals เลือกจุดทศนิยมที่ต้องการ (0)
         - value-ใส่ค่า 1น้อยที่สุด 2น้อย 3ปานกลาง 4มาก 5มากที่สุด
     2.พิมพ์ข้อมูลใส่ใน data view ตามลำดับข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ทั้งหมด(ตัวอย่าง20 ชุด)
     3. เมื่อกรอกข้อมูลครบแล้วให้มาดูผลการวิเคราะห์ข้อมูล
         -   คลิกที่ แถบเมนูด้านบน โดยคลิกเลือกที่ Transform คลิกเลือก Compute variable  ตั้งชื่อTa ใน  target variable คลิกเลือก Function เลือก sum. แล้วพิมพ์ sum [a1,a2,a3,a4]/4 คลิก ok  โปรแกรมจะทำการวิเคราะห์ข้อมูลของด้าน a ทั้งหมด  และทำซ้ำอีกเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลในด้าน b – d โดยเปลี่ยนจาก ta เป็น tb , tc , td(ในด้านtd ใหเปลี่ยนเป็น/3 เพราะมี 3 ข้อ)  ในวิเคราะห์ข้อมูลเป็นผลรวมของทั้งชุด ให้เปลี่ยนจาก[a1,a2,a3,a4]/4 เป็น [ta, tb , tc , td]/4
-การหาค่าความถี่  ใช้คำสั่ง Analyze > Descriptive Statistics > Frequencies เพื่อแสดงความถี่ เปอร์เซ็นต์ ค่าสถิติเชิงพรรณาต่างๆ กราฟ และอื่นๆ ขึ้นอยู่กับการเลือกของผู้วิเคราะห์ โดยสามารถวิเคราะห์ได้ทั้งข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยการเลือกว่าจะวิเคราะห์ข้อมูลแบบใด จะต้องเลือกชนิดของตัวแปรและ Output ให้สอดคล้องกันแล้วคลิกเลือก OK โปรแกรมจะแสดงผลการวิเคราะห์ออกมา

คลังบทความของบล็อก